วัน จันทร์ ที่ ๒๒ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙
ที่มา :สุพรรฌทิพย์ อติโพธิ.สรุปชีววิทยา มัธยมปลาย.กรุงเทพฯ:กรีนไลฟ์ พริ้นท์ติ้งเฮ้าท์,๒๕๕๗.เรื่อง : โครงสร้างของดอก
สาระสำคัญ :
๑. กลีบเลี้ยง (sepal) เป็นส่วนที่อยู่นอกสุด มีสีเขียว เหมือนใบ และทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้ กลีบเลี้ยงทำหน้าที่ห่อหุ้ม และป้องกันอันตรายให้แก่ส่วนของดอกที่อยู่ภายใน เมื่อดอกบานแล้วส่วนของกลีบเลี้ยงอาจหมดหน้าที่แล้วหลุดร่วงไป วงของกลีบเลี้ยงเรียกว่า แคลิกซ์ (calyx)
๒. กลีบดอก (petal) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยงเข้ามากลีบดอกมักมีสีสันต่างๆสวยงามเนื่องจากมีรงควัตถุ ชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังมีต่อมน้ำหวานตรงโคนกลีบดอกเพื่อทำหน้าที่ล่อแมลงให้มาช่วยผสมเกสร
๓. เกสรตัวผู้ (stamen) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้ามาทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ เกสรตัวผู้แต่ละอันประกอบด้วย ๒ส่วน คือ
ก้านชูเกสรตัวผู้ (filament) เป็นส่วนที่มีลักษณะเป็นเส้น อาจรวมกันเป็นกลุ่มหรือแยก อาจยาวหรือสั้นแล้วแต่ชนิดของพืช ทำหน้าที่ชูอัลเกสรตัวผู้หรืออับเรณู
อับเกสรตัวผู้ (anther) มีลักษณะเป็นแทงกลมยาวหรือค่อนข้างกลม 2 พู ภายในแบ่งเป็นถุงเล็กๆ ๔ ถุง เรียกว่า ถุงเรณู(pollen sac) บรรจุละอองเรณู (pollen grain)จำนวนมากมีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ สีเหลืองๆ ผิวของละอองเรณูแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ละอองเรณูทำหน้าที่ เป็นเซลล์สืบพันธุเพศผู้ เมื่อดอกเจริญเต็มที่แล้วถุงละอองเรณูจะแตกออก ละอองเรณูก็จะปลิวออกมา เกสรตัวผู้ในพืชแต่ละชนิดมีจำนวนมากน้อยไม่เท่ากัน ในพืชโบราณหรือพืชชั้นต่ำเกสรตัวผู้มักมีจำนวนมาก ส่วนพืชที่มีวิวัฒนาการสูงจำนวนเกสรตัวผู้จะลดน้อยลง
๔. เกสรตัวเมีย (pistil) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย แบ่งเป็น ๓ส่วนดังนี้
ยอดเกสรตัวเมีย (stigma) คือ ส่วนปลายสุดของก้านเกสรตัวเมีย มีลักษณะเป็นปุ่ม มีขนหรือของเหลวเหนียวๆสำหรับจับละอองเรณูที่ปลิวออกมาหรือแมลงนำพามา
ก้านชูเกสรตัวเมีย (style) เป็นส่วนที่ต่อจากยอดเกสรตัวเมียลง มีลักาณะเป็นท่อยาวต่อลงมาถึงรังไข่
รังไข่ (ovary) เป็นส่วนที่พองโตขยายออกเป็นกระพุ้งหรือกระเปาะ โดยภายในรังไข่มีออวุล มากกว่า และภายในออวุลจะมีถุงเอ็มบริโอ ซึ่งเป็นที่อยู่ของเซลล์ไข่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น