วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วัน อาทิตย์  ที่ ๒๗ เดือน ธันวาคม    พ.ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : ดร.อาภารัตน์  มหาขันธ์.เทคโนโลยีชีวภาพใกล้ตัว(๒).พิมพ์ครั้งที่๑-นนทบุรี:สหมิตรพริ้นติ้ง,๒๕๔๙.หน้า ๑๙-๒๓
เรื่อง : ปุ๋ยชีวภาพจากสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว
สาระสำคัญ :
          
           นักวิทยาศาสตร์ได้สังเกตพบว่าในประเทศแถบเอเชียอาคเนย์ ซึ่งมีการทำนาติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายศตวรรษโดยไม่มีการใส่ปุ๋ย ยังคงได้ผลผลิตที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ หรือแม้แต่ในประเทศไทยเอง ก็ได้พบการตรึงไนโตรเจนจากอากาศโดยสาหร่ายในรูปแก๊สไนโตรเจน แล้วเปลี่ยนให้อยู่ในรูปสารประกอบไนโตรเจนที่พืชดูดไปใช้ได้ จึงเปรียบเสมือนการเพิ่มปุ๋ยไนโตรเจนซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักที่สำคัญที่สุดต่อการเจริญเติบโตของพืชธาตุหนึ่งให้แก่ดิน
          สาหร่ายที่มีบทบาทสำคัญในการตรึงไนโตรเจน คือ สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว พบมากในดินน้ำขัง สาหร่ายนี้อยู่ในชั้นไซยาไฟซิอี มีลักษณะของเซลล์เช่นเดียวกับแบคทีเรีย คือ มีสารทำหน้าที่เป็นนิวเคลียสอยู่ภายในCentroplasmแต่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส มีคลอโรฟิลล์ เอ มีรงควัตถุสีน้ำเงิน และ สีแดง เป็นรงควัตถุที่สำคัญในการสังเคราะห์แสง
         การศึกษาลู่ทางการนำสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวมาใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพในหลายประเทศการทดลองใช้ปุ๋ยชีวภาพจากสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวในนาข้าว พบว่าให้ผลดังนี้
          ๑.   ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าว
          ๒.   ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน 
          ๓.   ให้ออกซิเจนแก่ข้าวในสภาพน้ำขัง
          ๔.   มีการปลดปล่อยสารคล้ายฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตให้กับพืช
       นอกจากนั้น สาหร่ายต่างชนิดกันยังมีลักษณะการเจริญเติบโตในสภาพต่างกัน กล่าวคือเจริญเติบดตบนผิวดิน ลอยอยู่ในน้ำ ลอยอยู่บนผิวหน้าน้ำ เกาะกับลำต้นของข้าวหรือเจริญอยู่ระหว่างส่วนเปียกและส่วนแห้งของคันนา ดังนนั้นการนำสาหร่ายมาผลิตปุ๋ยชีวภาพจึงต้องมีการศึกษาปฏิกิริยาการตอบสนองของสาหร่ายต่อสารพิษที่ใช้ในการเกษตร เช่น ยาปราบศัตรูพืช

วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วัน   จันทร์   ที่   ๒๑  เดือน  ธันวาคม     พ.ศ. ๒๕๕๘
ที่มา :  ปวีณ์นุช กิตติธีรนันท์,ดร.กนิน วิชาผง.โลกของเรา.พิมพ์ครั้งที่ ๑.กรุงเทพฯ :เจเนซิล มีเดียคอม.๒๕๕๓.หน้า ๑๐-๑๕
เรื่อง : ส่วนประกอบของผิวโลก

สาระสำคัญ :
           ลักษณะพื้นผิวของโลกประกอบด้วยพื้นดิน พื้นน้ำ ภูเขาและป่าทึบ โดยส่วนที่เป็นพื้นน้ำมีมากที่สุดประมาณ ๓ ใน ๔ หรือ ๗๑%ของพื้นผิวทั้งหมด และเป็นพื้นที่ดินประมาณ ๑ ใน ๔ หรือ ๒๙%โดยระบบสิ่งมีชีวิตต่างๆ บนโลกจะมีความสัมพันธ์กันและดำรงอยู่ด้วยกันอย่างต่อเนื่อง พื้นผิวโลกประกอบด้วยส่วนต่างๆ โดยแบ่งอย่างละเอียด ได้ ๔ ส่วน ดังนี้
๑.พื้นน้ำ
         พื้นน้ำ(hydrosphere) ประกอบด้วย ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเล ลำธาร มหาสมุทร วมทั้งน้ำใต้ดินและน้ำแข็งที่ขั้วโลก 
๒.พื้นดิน
         พื้นดิน(lithosphere) ประกอบด้วยส่วนของพื้นโลกและผิวโลกที่มีลักษณะเป็นของแข็งที่เรียกว่า เปลือกโลก (crust) ห่อหุ้มโลกโดยรอบ 
๓.บรรยากาศ
         บรรยากาศ(Atmosphere) อากาศที่ห่อหุ้มโลกของเราโดยมีขอบเขตนับจากระดับน้ำทะเล  ประมาณ  ๑,๐๐๐ กม.ขึ้นไป ที่บริเวณใกล้พื้นดินอากาศจะมีความหนาแน่นมาก
๔.สิ่งมีชีวิต
         สิ่งมีชีวิต(biosphere) คือการอาศัยอยู่รวมกันในบริเวณใดบริเวณหนึ่งทั่วทุกส่วนของโลก ทั้งในน้ำ บนบก และในอากาศ ซึ่งประกอบด้วย พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ และยังมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอีก ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม
วัน     จันทร์    ที่   ๒๑   เดือน   ธันวาคม    พ.ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : ประภาส  วีระแพทย์.สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.ฉบับเสริมการเรียนรู้.พิมพ์ครั้งที่๑.กรุงเทพฯ,๒๕๕๓.เล่มที่๑๖
เรื่อง : ข้าว

สาระสำคัญ :
           
           ข้าวเป็นพืชอาหารหลักของคนไทยหลายภูมิภาคของโลก เฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชีย  มนุษย์ในทวีปเอเชียรู้จักข้าวและการปลูกข้าวเมื่อประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว พบหลักฐานว่าแหล่งปลูกข้าวสมัยแรกอยู่ในเขตประเทศจีน ส่วนในดินแดนที่เป็นประเทศไทยมีการปลูกข้าวตั้งแต่เมื่อราว ๕,๐๐๐ ปีก่อน  ข้าวมีบทบาทต่อการดำรงชีพ เศรษฐกิจและสัมคมของประเทศในภูมิภาคเอเชียมาช้านาน
           การทำนาเป็นอาชีพหลักและเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของคนไทยมาช้านาน ข้าวเป็นผลิตผลทางการเกษตรที่นอกจากจะมีความสำคัญทางเศรษฐกิจแล้วกระบวนการปลูกข้าวยังมีอิทธิพลต่อความคิด ประเพณี เห็นได้จากการกำหนดฤดูกาลจากขั้นตอนของขบวนการปลูกข้าวว่าเป็นฤดู ไถ หว่าน ปักดำ ฤดูเก็บเกี่ยว ความรู้เรื่องข้าวจึงมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ในการค้นคว้าเกี่ยวกับการทำมาหากินของคนไทย

วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วัน จันทร์ ที่ ๑๔  เดือน ธันวาคม  พ.ศ.๒๕๕๘
ที่มา:  สำนักงานป.ป.ส.๒๕๕๘.รวมบทความสำหรับเผยแพร่เพื่อป้องกันยาเสพติด.พิมพ์ครั้งที่๑
เรื่อง : การปลูกฝังเด็กให้เป็นคนดี

สาระสำคัญ
       จาการศึกษาเรื่องพัฒนาการของสมองคนยืนยันว่า การที่จะให้เด็กเป็นคนดีผู้ใหญ่ต้องปลูกฝังสิ่งดีๆ ให้ตั้งแต่เล็กๆ สมองของเด็กจะรับรู้และจดจำสิ่งต่างๆ ที่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู หรือครู อบรมสั่งสอนฝังลึกอยู่ในความทรงจำ และจะเป็นเสมือนเข็มทิศนำทางพฤติกรรมเมื่อเติบโตขึ้น
     ครอบครัวยังมีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังเรื่องอื่นๆอีก เช่น เรื่องของความดี ความชั่ว เรื่องของการเลือกคบเพื่อนเป็นต้น เพราะครองครัวเป็นสถาบันทางสังคมหน่วยที่เล็กที่สุดและเป็นสถานที่แรกที่เด็กได้เรียนรู้และปฏิบัติจนหล่อหลอมเป็นพฤติกรรมของเด็ก โดยมีพ่อแม่เป็นแบบในทุกๆเรื่อง
วัน อาทิตย์ ที่ ๑๓ เดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : อำนาจ เจริญศิลป์.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ๆ.กรุงเทพฯ๑๐๒๐๐.พริ้นติ้น เฮ้าส์.
ครั้งที่๑/๒๕๓๕ .หน้า๑๑๐-๑๑๑
เรื่อง : พบวิธีแก้นอนกรน

สาระสำคัญ :
               จากผลการวิจัย  ประเทศไทยเรามีจำนวนคนที่นอนกรนถึง ๑ ใน ๓ ของประชากร และชายจะนอนกรนมากกว่าหญิงถึง ๒ ต่อ ๑    น.พ.คณิต  มันตาภรณ์ หนึ่งในบรรดาผู้วิจัย พูดถึงเสียงที่เกิดเวลานอนกรนว่าเป็นการหายใจเข้าออกไม่สะดวกเวลาหลับเพราะเพดานอ่อนขยายตัวและเกิดการเลื่อนตำแหน่งของลิ้น การกรนจะเกิดเฉพาะในคนเท่านั้น เพราะชอบนอนหงายเวลาหลับ ส่วนสาเหตุนั้นมีมากมาย เช่น เป็นโรคจมูก ต่อมทอลซินอักเสบ หรือโรคภูมิแพ้
               จากการวิจัย ทางโรงพยาบาลสามารถรักษาวิธีการนอนกรนโดยวิธีการใหม่ คือ  "การผ่าตัด"
นอนตะแคง ช่วยลดการกรน
นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดเสียงกรน คือ ควรควบคุมน้ำหนักอย่าให้อ้วนจนเกินไปเลิกเหล้าเลิกบุหรี่ เพราะจะทำให้ยิ่งกนรหนัก และควรจะนอนตะแคง จะช่วยให้หายกรนได้
งดเหล้า บุหรี่ ช่วยลดการกรน

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วัน จันทร์ ที่เดือน ธันวาคม   พ.ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : ศิวพล   ชมภูพันธุ์.สรุปสังคมม.ปลาย.นนทบุรี,๑๑๑๓๐.วัชรินทร์ พี.พี.พิมพ์ครั้งที่ ๑๒.หน้า๑-๙
เรื่อง : ประวัติศาสตร์(วิธีการทางประวัติศาสตร์)

สาระสำคัญ :
                    ประวัติศาสตร์ยังมีเรื่องราวมากมายที่น่าค้นหา บางเรื่องก็ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน เราต้องใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ หาหลักฐานอ้างอิงที่หนักแน่น 
          วิธีการทางประวัติศาสตร์ มี ๕ ขั้นตอน ดังนี้

กำหนดหัวข้อ               เป็นการตั้งคำถาม สงสัยเรื่องใด และควรตั้งประเด็นไม่กว้างหรือแคบเกินไป


รวบรวมข้อมูล              ศึกษาค้นคว้าข้อมูลทั้งลายลักษณ์อักษร เอกสาร หรือหลักฐาน ที่ไม่เป็นลาย                                      ลักษณ์อักษร คำสัมภาษณ์ คำบอกเล่า วัตถุโบราณ


ประเมินหลักฐาน         พิจารณาหลักฐานว่าเป็นของจริงหรือไม่(ประเมินภายนอก)
                                   และดูว่าหลักฐานน่าเชื่อถือเพียงใด(ประเมินภายใน)
     (วิพากษ์)

     ตีความ                 ขั้นตอนนี้ ต้องอาศัยความรู้ของผู้ค้นคว้า เป็นขั้นตอนที่ยากและใช้ความคิดที่สุด


วิเคราะห์+สังเคราะห์     แยกข้อเท็จจริงเป็นหมวดหมู่และนำมาเรียบเรียงเพื่อหาความเชื่อมโยง 
                                     หาความสัมพันธ เพื่อนำเสนอ "องค์ความรู้ใหม่"

วัน อาทิตย์ ที่เดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ที่มา :ธนากร เพิ่มพูนทรัพย์.สู่โลกก้าวไกล ๑๐ ประเทศสมาชิคอาเซียน.กรุงเทพ P.Q ,พริ้นติ้ง.เอกรุ๊ป.หน้า๓๑-๔๘
เรื่อง : ราชอาณาจักรไทย

สาระสำคัญ :              
                  ประเทศไทยเป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนด้านทางทิศตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้มีพรมแดนติดประเทศมาเลเซยแล้วอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่าและทิศหนือติดประเทศพม่าและลาว ประเทศไทยมี ๗๗ จังหวัด
                  ประเทศไทยมีขนาดใหญ่อันดับที่ ๕๐ ของโลก มีเนื้อที่ ๕๑๓,๑๑๕ ตารางกิโลเมตรและมีประชาชนมากเป็นอันดับที่ ๕๐ ของโลก คือประมาณ ๖๖ ล้านคน กับทั้งยังเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ โดยมีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ ไทยยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นอันมาก เศรษฐกิจไทยนับว่าใหญ่เป็นอันดับที่ ๓๐ ของโลก

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วันที่  ๑ เดือน ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๕๘
ที่มา: นิตยา   โกทองยศ. ความรู้รอบตัว
พิมพ์ครั้งที่๒. เพชรบุรี: บางกอกอินเตอร์เนชั่นแนล ,๒๕๕๐น้า ๑๑๒-๑๒๔
เรื่อง : ระบบสุริยะ

สาระสำคัญ :
           ระบบสุริยะ ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์และวัตถุต่างๆ จำนวนมากที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ อันได้แก่ ดาวเคราะห์ ๘ ดวง และดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ต่างๆกว่า ๖๐ ดวงดาวเคราะห์น้อย จำนวนนับไม่ถ้วน และดาวหางของระบบสุริยะคล้ายรูปจาน มีระยะเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่า ๑๒.๐๐๐  ล้านกิโลเมตร จุดศูนย์กลางคือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งมีมวลมากกว่า  ๙๙ เปอร์เซ็นต์ของมวลทั้งหมด ในระบบสุริยะ






วัน อาทิตย์ ที่ ๓๐ เดือน พฤศจิกายน   พ.ศ.๒๕๕๘
ที่มา : ยุพา วานิชชัย.อาณาจักรของดวงดาว.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพ.
พิมพ์ครั้งที่๑.หน้า๕๗-๖๑
เรื่อง : สายธารแห่งเอกภพ

สาระสำคัญ
               ราวปีค.ศ.๑๙๙๒ ลอเออร์ และโพสแมนพยายามยืนยันทฤษฎีเอกภพว่าเอกภพควรจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวคือเคลื่อนที่ออก มีดาราจักรเคลื่อนที่ออกจากดัน การเคลื่อนที่นี้เป็นการขยายตัว  เอกภพเคลื่อนที่ไปในทิศทางกลุ่มดาวเวอร์โก เนื่องจากค้นพบกระแสมวลมหึมาของกลุ่มหรือกระจุกดาราจักรไหลบนการขยายตัวอย่างสม่ำเสมอของเอกภ การค้นพบนี้ทำให้เกิดอาการซ้อคในวงการดาราศาสตร์