วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

 วัน  จันทร์ ที่ ๒๒ เดือน กุมภาพันธ์   พ.ศ. ๒๕๕๙
ที่มา :สมเกียรติ  ภู่ระหงษ์.อาเซียนศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ ๕.กรุงเทพฯ:อักษรเจริญทัศน์ อจท,๒๕๕๘.
เรื่อง : สามเสาหลักประชาคมอาเซียน
สาระสำคัญ :

เสาที่ ๑ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
          มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ประเทศในภูมิภาคอยู่อย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาภายในภูมิภาคโดยสันติวิธี และยึดมั่นในหลักความมั่นคงรอบด้าน โดยจะดำเนินการดังนี้
๑.ใช้เอกสารทางการเมืองและกลไกของอาเซียนที่มีอยู่แล้วในการเพิ่มศักยภาพในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทภายในภูมิภาค รวมถึงการต่อต้านการก่อการร้าย การลักลอบค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติ
๒.ริเริ่มกลไกใหม่ๆ ในการเสริมสร้างความมั่นคงและกำหนดรูปแบบใหม่สำหรับความร่วมมือในด้านนี้
๓.ส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเล โดยไม่กระทบต่อนโยบายต่างประเทศ
เสาที่ ๒ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
           มีเป้าหมายที่จะทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคงมั่นคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะดำเนินการดังนี้
๑.ทำให้การไหลเวียนของสินค้า การบริการ การลงทุน เงินทุน แรงงานมีฝีมือ ดารพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างเสรี
๒.ทำให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวและเป็นฐานการผลิตเดียวกัน
๓.ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน เพื่อช่วยลดช่องว่างระดับการพัฒนา และเข้มแข็ง
๔.ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหาภาค
เสาที่ ๓ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
          มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นสังคมที่ผู้คนอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร ประชากรมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ได้รับการพัฒนาในทุกด้าน และมีความมั่นคงทางสังคม โดยจะส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ ตัวอย่างเช่น
๑.การพัฒนาสังคม โดยการยกระดับความเป็นอยู๋ของผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่อาศัยในถิ่นทุรกันดาร
๒.การพัฒนาการฝึกอบรม การศึกษาระดับพื้นฐานและสูงกว่า การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสร้างงาน และการคุ้มครองทางสังคม
๓.การส่งเสริมความร่วมมือในด้านสาธารณสุข
๔.การจัดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
๕.การส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเขียน นักคิด และศิลปินในภูมิภาค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น