วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วัน  จันทร์ ที่ ๒๒ เดือน กุมภาพันธ์   พ.ศ. ๒๕๕๙
ที่มา :สมเกียรติ  ภู่ระหงษ์.อาเซียนศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ ๕.กรุงเทพฯ:อักษรเจริญทัศน์ อจท,๒๕๕๘.
เรื่อง : การเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
สาระสำคัญ :

การเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
        เพื่อให้การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนประสบความสำเร็จ เยาวชนไทยทุกคนต้องตื่นตัวและเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ดังนี้
๑.การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ
  • ฝึกอ่านศึกษาภาษาอังกฤษหรือข้อความโฆษณาที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน
  • ฝึกฟังหรือสนทนาภาษาอังกฤษจากวิทยุ โทรทัศน์ภาคภาษาอังกฤษ
  • หมั่นท่องศัพท์ เพื่อจะได้มีศัพท์ไว้ใช้สื่อสารมากขึ้น
๒.การปลูกจิตสำนึกด้านคุณธรรม จริยธรรม และระเบรยบวินัย
  • มีการศึกษาที่ดี
  • มีระเบียบวินัย
  • เคารพกฎหมาย
  • ขยัน หมั่นเพียร
  • ซื่อสัตย์ ไม่คดโกง
  • มีความอดทน
๓.การเรียนรู้ภาษาเพื่อนบ้าน
  • เป็นการส่งเสริมแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน
  • ช่วยสร้างโอกาสในการทำงานมากขึ้น
  • สามารถนำความรู้ที่มีประโยชน์ของเพื่อนบ้านมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การทำอาหาร
๔.การเรียนรู้วัฒนธรรมและสร้างทัศนคติที่ดีต่อประเทศเพื่อนบ้าน
  • เรียนรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์และภูมิหลังของประเทศสมาชิกอาเซียน
  • ทำความเข้าใจกับวิถีชีวิตแนวคิดของเพื่อนสมาชิกอาเซียน
  • ทำความเข้าใจอัตลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะของประเทศสมาชิกอาเซียน
๕.การใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์
  •  เรียนรู้เกี่ยวกับมารยาททั่วไปในการใช้อินเทอร์เน็ต
  • ทำตามหลักพื้นฐานความปลอดภัยและเรียนรู้วิธีการ
  • ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ โดยการสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวกับประเทศสมาชิกอาเซียนและข่าวในด้านต่างๆ
  • เรียนรู้วิธีการออกแบบ สร้างสรรค์ และนำเสนองาน เพื่อเผยแพร่แลกเปลี่ยน
  • การจัดทำบล็อกหรือใช้สื่อออนไลน์เพื่อคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อนประเทศสมาชิกในทาเหมาะสม



วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

 วัน  จันทร์ ที่ ๒๒ เดือน กุมภาพันธ์   พ.ศ. ๒๕๕๙
ที่มา :สมเกียรติ  ภู่ระหงษ์.อาเซียนศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ ๕.กรุงเทพฯ:อักษรเจริญทัศน์ อจท,๒๕๕๘.
เรื่อง : สามเสาหลักประชาคมอาเซียน
สาระสำคัญ :

เสาที่ ๑ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
          มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ประเทศในภูมิภาคอยู่อย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาภายในภูมิภาคโดยสันติวิธี และยึดมั่นในหลักความมั่นคงรอบด้าน โดยจะดำเนินการดังนี้
๑.ใช้เอกสารทางการเมืองและกลไกของอาเซียนที่มีอยู่แล้วในการเพิ่มศักยภาพในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทภายในภูมิภาค รวมถึงการต่อต้านการก่อการร้าย การลักลอบค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติ
๒.ริเริ่มกลไกใหม่ๆ ในการเสริมสร้างความมั่นคงและกำหนดรูปแบบใหม่สำหรับความร่วมมือในด้านนี้
๓.ส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเล โดยไม่กระทบต่อนโยบายต่างประเทศ
เสาที่ ๒ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
           มีเป้าหมายที่จะทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคงมั่นคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะดำเนินการดังนี้
๑.ทำให้การไหลเวียนของสินค้า การบริการ การลงทุน เงินทุน แรงงานมีฝีมือ ดารพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างเสรี
๒.ทำให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวและเป็นฐานการผลิตเดียวกัน
๓.ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน เพื่อช่วยลดช่องว่างระดับการพัฒนา และเข้มแข็ง
๔.ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหาภาค
เสาที่ ๓ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
          มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นสังคมที่ผู้คนอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร ประชากรมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ได้รับการพัฒนาในทุกด้าน และมีความมั่นคงทางสังคม โดยจะส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ ตัวอย่างเช่น
๑.การพัฒนาสังคม โดยการยกระดับความเป็นอยู๋ของผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่อาศัยในถิ่นทุรกันดาร
๒.การพัฒนาการฝึกอบรม การศึกษาระดับพื้นฐานและสูงกว่า การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสร้างงาน และการคุ้มครองทางสังคม
๓.การส่งเสริมความร่วมมือในด้านสาธารณสุข
๔.การจัดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
๕.การส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเขียน นักคิด และศิลปินในภูมิภาค

วัน จันทร์ ที่ ๒๒ เดือน กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๕๕๙
ที่มา :ธนากร เพิ่มพูนทรัพย์.สู่โลกก้าวไกล ๑๐ ประเทศสมาชิคอาเซียน.กรุงเทพ P.Q ,พริ้นติ้ง.เอกรุ๊ป.
เรื่อง : บรูไน
บรูไน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว ทิศตะวันออกตะวันตกและทิศใต้ ติดเขตซาราวัก ประเทศมาเลเซีย โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้ บรูไนเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันเป็นสินค้าหลัก (ปริมาณการผลิตน้ำมนประมาณ 180,000 บาร์เรล / วัน) บรูไนถือเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรน้อยมาก แต่เป็นประเทศที่มีค่าครองชีพสูงมากแห่งหนึ่งของโลก อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้ให้สวัสดิการอย่างดีเลิศแก่ประชาชน อาทิ ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ค่ารักษาพยาบาลฟรี การศึกษา รัฐให้เปล่าจนถึงระดับมัธยมศึกษา นอกจากนี้ยังมีสวัสดิการแก่ข้าราชการของรัฐอีกด้วย
 วัน  จันทร์ ที่ ๒๒ เดือน กุมภาพันธ์   พ.ศ. ๒๕๕๙
ที่มา :สุพรรฌทิพย์  อติโพธิ.สรุปชีววิทยา มัธยมปลาย.กรุงเทพฯ:กรีนไลฟ์ พริ้นท์ติ้งเฮ้าท์,๒๕๕๗.
เรื่อง : โครงสร้างของดอก
สาระสำคัญ :

๑.  กลีบเลี้ยง (sepal)  เป็นส่วนที่อยู่นอกสุด  มีสีเขียว เหมือนใบ และทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้  กลีบเลี้ยงทำหน้าที่ห่อหุ้ม และป้องกันอันตรายให้แก่ส่วนของดอกที่อยู่ภายใน  เมื่อดอกบานแล้วส่วนของกลีบเลี้ยงอาจหมดหน้าที่แล้วหลุดร่วงไป  วงของกลีบเลี้ยงเรียกว่า  แคลิกซ์  (calyx
๒.  กลีบดอก (petal) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยงเข้ามากลีบดอกมักมีสีสันต่างๆสวยงามเนื่องจากมีรงควัตถุ ชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังมีต่อมน้ำหวานตรงโคนกลีบดอกเพื่อทำหน้าที่ล่อแมลงให้มาช่วยผสมเกสร
๓.  เกสรตัวผู้ (stamen) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้ามาทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้  เกสรตัวผู้แต่ละอันประกอบด้วย ๒ส่วน คือ
  ก้านชูเกสรตัวผู้  (filament)  เป็นส่วนที่มีลักษณะเป็นเส้น อาจรวมกันเป็นกลุ่มหรือแยก อาจยาวหรือสั้นแล้วแต่ชนิดของพืช ทำหน้าที่ชูอัลเกสรตัวผู้หรืออับเรณู
  อับเกสรตัวผู้ (anther) มีลักษณะเป็นแทงกลมยาวหรือค่อนข้างกลม 2  พู  ภายในแบ่งเป็นถุงเล็กๆ   ๔  ถุง เรียกว่า ถุงเรณู(pollen  sac)  บรรจุละอองเรณู (pollen  grain)จำนวนมากมีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ  สีเหลืองๆ  ผิวของละอองเรณูแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน  ละอองเรณูทำหน้าที่  เป็นเซลล์สืบพันธุเพศผู้  เมื่อดอกเจริญเต็มที่แล้วถุงละอองเรณูจะแตกออก  ละอองเรณูก็จะปลิวออกมา  เกสรตัวผู้ในพืชแต่ละชนิดมีจำนวนมากน้อยไม่เท่ากัน  ในพืชโบราณหรือพืชชั้นต่ำเกสรตัวผู้มักมีจำนวนมาก  ส่วนพืชที่มีวิวัฒนาการสูงจำนวนเกสรตัวผู้จะลดน้อยลง  
๔.  เกสรตัวเมีย (pistil) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย  ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย แบ่งเป็น ๓ส่วนดังนี้
                                  ยอดเกสรตัวเมีย (stigma) คือ ส่วนปลายสุดของก้านเกสรตัวเมีย มีลักษณะเป็นปุ่ม มีขนหรือของเหลวเหนียวๆสำหรับจับละอองเรณูที่ปลิวออกมาหรือแมลงนำพามา
                                  ก้านชูเกสรตัวเมีย (style) เป็นส่วนที่ต่อจากยอดเกสรตัวเมียลง มีลักาณะเป็นท่อยาวต่อลงมาถึงรังไข่
                                  รังไข่  (ovary)  เป็นส่วนที่พองโตขยายออกเป็นกระพุ้งหรือกระเปาะ โดยภายในรังไข่มีออวุล มากกว่า และภายในออวุลจะมีถุงเอ็มบริโอ ซึ่งเป็นที่อยู่ของเซลล์ไข่
 วัน  จันทร์ ที่ ๒๒ เดือน กุมภาพันธ์   พ.ศ. ๒๕๕๙
ที่มา :สุพรรฌทิพย์  อติโพธิ.สรุปชีววิทยา มัธยมปลาย.กรุงเทพฯ:กรีนไลฟ์ พริ้นท์ติ้งเฮ้าท์,๒๕๕๗.
เรื่อง : ระบบน้ำเหลือง
สาระสำคัญ :

         ระบบน้ำเหลืองเป็นระบบลำเลียงสารต่าง ๆ ให้กลับเข้าสู่เส้นเลือด โดยเฉพาะสารอาหารพวกกรดไขมันที่ดูดซึมจากลำไส้เล็ก ระบบน้ำเหลืองจะไม่มีอวัยวะสำหรับสูบฉีดไปยังส่วนต่าง ๆ
ส่วนประกอบของระบบน้ำเหลือง

ท่อน้ำเหลือง ( Lymph vessel )
      เป็นท่อตันมีอยู่ทั่วร่างกายมีขนาดต่าง ๆ กัน มีลักษณะคล้ายเส้นเลือดเวน คือมีลิ้นกั้นป้องกันการไหลกลับของน้ำเหลือง
น้ำเหลืองไหลไปตามท่อน้ำเหลือง โดยอาศัยปัจจัย ๓ ประการ คือ
๑. การหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อที่จะไปกดหรือคลายท่อน้ำเหลือง
๒. ความแตกต่างระหว่างความดันไฮโดรสเตติก ซึ่งท่อน้ำเหลืองขนาดเล็กมีมากกว่า ท่อน้ำเหลืองขนาดใหญ่
๓. การหายใจเข้า ซึ่งไปมีผลขยายทรวงอกและลดความดันทำให้ท่อน้ำเหลืองขยายตัว
อวัยวะน้ำเหลือง ( Lymph organ ) อวัยวะน้ำเหลืองเป็นศูนย์กลางในการผลิตเซลล์ที่ใช้ในการต่อต้านเชื้อโรคหรือสิ่งแปลก ปลอมประกอบด้วย ต่อมน้ำเหลือง ต่อมทอนซิล ม้าม ต่อมไทมัส และเนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่อยู่ที่ลำไส้
- ต่อมน้ำเหลือง ( Lymph node ) พบอยู่ระหว่างทางเดินของท่อน้ำเหลืองทั่วไปในร่าง กายลักษณะเป็นรูปไข่ กลม หรือรี เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑.๕ มิลลิเมตร จะมีท่อน้ำเหลืองเข้าและท่อน้ำ เหลืองออกภายในเต็มไปด้วยเม็ดเลือดขาวชนิดโฟไซต์ ต่อมน้ำเหลืองจะทำหน้าที่กรองน้ำเหลืองให้สะอาดทำลาย แบคทีเรีย และทำลายเม็ดเลือดขาวที่อยู่ในวัยชรา
- ต่อมทอนซิล ( Thonsil gland ) เป็นกลุ่มของต่อมน้ำเหลืองมีอยู่ ๓ คู่คู่ที่สำคัญอยู่ รอบๆหลอดอาหาร ภายในต่อมทอนซิลจะมีลิมโฟไซต์ทำลายจุลินทรีย์ที่ผ่านมาในอากาศไม่ให้เข้าสู่หลอดอาหารและ กล่องเสียงถ้าต่อมทอนซิลติดเชื้อจะมีอาการบวมขึ้น เรียกว่า ต่อมทอนซิลอักเสบ
- ม้าม ( spleen ) เป็นอวัยวะน้ำเหลืองที่ใหญ่ที่สุด มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมากมายไม่มีท่อน้ำ เหลืองเลย สามารถยืดหดได้ นุ่มมีสีม่วง อยู่ใกล้ๆกับกระเพาะอาหารใต้กระบังลมด้านซ้าย รูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว ภายในจะมีลิมโฟไซต์อยู่มากมาย ม้ามมีหน้าที่สร้างเม็ดเลือดในระยะเอ็มบริโอในคนที่คลอดแล้วม้ามทำหน้าที่
๑. ทำลายเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุแล้ว
๒. สร้างเม็ดเลือดขาว พวกลิมโฟไซต์ และโมโนไซต์ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคที่เข้า ไปในกระแสเลือด
๓. สร้างแอนติบอดี
๔. ในสภาพผิดปกติ สามารถสร้างเม็ดเลือดแดงได้ เช่น มะเร็งเม็ดเลือด


- ต่อมไทมัส ( Thymus gland ) เป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ตอนอายุน้อย และถ้าอายุมากจะเล็ก ลงและฝ่อในที่สุด เป็นต่อมไร้ท่ออยู่ตรงทรวงอกรอบเส้นเลือดใหญ่ของหัวใจ ทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด ลิมโฟไซต์ T มีหน้าที่ต่อต้านเชื้อโรคและสารแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย รวมทั้งการต้านอวัยวะที่ปลูกถ่ายจากผู้อื่นด้วย
 วัน  จันทร์ ที่ ๒๒ เดือน กุมภาพันธ์   พ.ศ. ๒๕๕๙
ที่มา :สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.ยาเสพติด หยุดได้ถ้ารู้ทัน.กรุงเทพฯ.เขตพญาไทย.ถนนดินแดน.
เรื่อง : ทำไมเสพแล้วจึงติด(โรคสมองติดยา)
สาระสำคัญ :

      บางคนเชื่อว่า หากดูแลสุขภาพให้ดีและทำจิตใจให้เข้มแข็งแล้วจะไม่ตกเป็นทาสยาเสพติดซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะยาเสพติดออกฤทธิ์โดยตรงต่อสมองซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญมาก เพราะทำหน้าที่ควบคุมและสั่งการทำงานทั้งร่างกาย ความคิด และจิตใจของผู้เสพสมองที่ถูกยาเสพติดทำลายแบ่งเป็น 2 ส่วนสำคัญคือ
   1.สมองชั้นนอกหรือสมองส่วนคิดทำหน้าที่ควบคุมสติปัญญา ใช้ความคิดแบบมีเหตุผล
    2.สมองชั้นในหรือสมองส่วนอยาก เป็นศูนย์ควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก
    
       เมื่อเสพยาเสพติด ตัวยาจะกระตุ้นสมองส่วนอยากให้หลั่งสารเคมีชื่อ โดปามีน ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกมีความสุข ส่งผลให้ผู้เสพรู้สึกเป็นสุขมากกว่าปกติ แต่เนื่องจากเป็นการสร้างโดปามีนที่ผิดธรรมชาติ เมื่อเสพเป็นเวลานานสมองจะไม่สามารถควบคุมการหลั่งโดปามีนได้ตามปกติ ทำให้ผู้เสพหมดความสามารถรู้สึกสุขตามธรรมชาติได้ ต้องอาศัยการเสพติดสมองจึงจะหลั่งโดปามีนออกมาเพียงพอให้รู้สึกสุขได้ หากไม่ได้เสพก็จะเกิดอาการหงุดหงิด หรือซึมเศร้า ทำให้ต้องแสวงหายาเสพติดมาเสพซ้ำแล้วซ้ำอีก กลายเป็นภาวะเสพติด หรือเรียกว่า สมองติดยา

     หลังจากเสพยาเสพติด ต่อเนื่องเป็นเวลานาน สมองส่วนคิดจะถูกทำลาย การใช้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลจะเสียไป สมองส่วนอยากจะมีอิทธิพลมากกว่าสมองส่วนคิดจนทำอะไรตามใจตามอารมณ์มากกว่าเหตุผล ผู้เสพยาจึงมักมักทำสิ่งที่ไม่เหมาะสม มีอารมณ์ก้าวร้าว หงุดหงิด ที่สำคัญ คือห้ามตนเองไม่ได้ต้องทำทุกวิถีทางให้ได้ยาเสพติดมาเสพ สุดท้ายเกิดความสูญเสียในทุกด้านของชีวิต เช่น เพื่อน ครอบครัว การเรียน / การทำงาน รวมทั้งมีอาการทางจิตและเป็นโรคจิตเต็มขั้นในที่สุด
วัน  จันทร์ ที่ ๒๒ เดือน กุมภาพันธ์   พ.ศ. ๒๕๕๙
ที่มา :สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.ยาเสพติด  ป้องกันได้ ด้วยคามเข้าใจ จากครอบครัว.กรุงเทพฯ.เขตพญาไทย.ถนนดินแดน.
เรื่อง : วิธีทำให้ครอบครัวมีความสุข
สาระสำคัญ :

๑.มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว

          ตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน ทำให้ในครอบครัวเป็นที่พึ่งให้กันและกันได้
 ๒.ให้ความสำคัญกับครอบครัว
          การให้เวลากับครอบครัวอย่างมีคุณภาพ
               ไม่เอาความเครียดมาให้กับคนนครอบครัว พยายามหาเวลาตรงกันที่ทุกคนมาร่วมกิจกรรมกัน                      ได้
          เอาใจใส่และให้ความรักแก่คนในครอบครัวในทางที่เหมาะสม
                ทำให้ทุกคนตระหนักว่าเรารักกัน มีความหมายต่อกันและกัน
 ๓.สื่อสารพูดคุยกันอย่างดี

  •       รู้จักห้อภัย
  •       ยิ้ม
  •       มีเวลานอก
  •       รับฟัง
  •       ใช้ถ้อยคำดี

 ๔.การสร้างค่านิยมให้เหมาะสม
             ครอบครัวยังเป็นแหล่งที่ปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องในการสร้างความสุขและการป้องกันปัญหาการติดยาเสพติดให้แก่สมาชิกในครอบครัวได้ ค่านิยมและวิธีคิดดังกล่าวเช่น
    • การให้คุณค่าของความดีมากกว่าวัตถุสิ่งของ
    • การเคารพผู้ที่อาวุโสกว่าและการเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็ก
    • การปฏิเสธการใช้สารเสพติดทุชนิด
    • การแก้ปัญหาในครอบครัวด้วยเหตุผล