วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วัน อาทิตย์  ที่ ๒๗ เดือน ธันวาคม    พ.ศ. ๒๕๕๘
ที่มา : ดร.อาภารัตน์  มหาขันธ์.เทคโนโลยีชีวภาพใกล้ตัว(๒).พิมพ์ครั้งที่๑-นนทบุรี:สหมิตรพริ้นติ้ง,๒๕๔๙.หน้า ๑๙-๒๓
เรื่อง : ปุ๋ยชีวภาพจากสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว
สาระสำคัญ :
          
           นักวิทยาศาสตร์ได้สังเกตพบว่าในประเทศแถบเอเชียอาคเนย์ ซึ่งมีการทำนาติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายศตวรรษโดยไม่มีการใส่ปุ๋ย ยังคงได้ผลผลิตที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ หรือแม้แต่ในประเทศไทยเอง ก็ได้พบการตรึงไนโตรเจนจากอากาศโดยสาหร่ายในรูปแก๊สไนโตรเจน แล้วเปลี่ยนให้อยู่ในรูปสารประกอบไนโตรเจนที่พืชดูดไปใช้ได้ จึงเปรียบเสมือนการเพิ่มปุ๋ยไนโตรเจนซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักที่สำคัญที่สุดต่อการเจริญเติบโตของพืชธาตุหนึ่งให้แก่ดิน
          สาหร่ายที่มีบทบาทสำคัญในการตรึงไนโตรเจน คือ สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว พบมากในดินน้ำขัง สาหร่ายนี้อยู่ในชั้นไซยาไฟซิอี มีลักษณะของเซลล์เช่นเดียวกับแบคทีเรีย คือ มีสารทำหน้าที่เป็นนิวเคลียสอยู่ภายในCentroplasmแต่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส มีคลอโรฟิลล์ เอ มีรงควัตถุสีน้ำเงิน และ สีแดง เป็นรงควัตถุที่สำคัญในการสังเคราะห์แสง
         การศึกษาลู่ทางการนำสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวมาใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพในหลายประเทศการทดลองใช้ปุ๋ยชีวภาพจากสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวในนาข้าว พบว่าให้ผลดังนี้
          ๑.   ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าว
          ๒.   ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน 
          ๓.   ให้ออกซิเจนแก่ข้าวในสภาพน้ำขัง
          ๔.   มีการปลดปล่อยสารคล้ายฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตให้กับพืช
       นอกจากนั้น สาหร่ายต่างชนิดกันยังมีลักษณะการเจริญเติบโตในสภาพต่างกัน กล่าวคือเจริญเติบดตบนผิวดิน ลอยอยู่ในน้ำ ลอยอยู่บนผิวหน้าน้ำ เกาะกับลำต้นของข้าวหรือเจริญอยู่ระหว่างส่วนเปียกและส่วนแห้งของคันนา ดังนนั้นการนำสาหร่ายมาผลิตปุ๋ยชีวภาพจึงต้องมีการศึกษาปฏิกิริยาการตอบสนองของสาหร่ายต่อสารพิษที่ใช้ในการเกษตร เช่น ยาปราบศัตรูพืช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น